วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ 


ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษสุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวาราวดีทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษสุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวาราวดี

“ทิวทัศน์สวย”
Slogan20300001_thumbSlogan20300002_thumbSlogan20300003_thumb
ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ที่ได้รับความนิยม เช่น จุดชมทิวทัศน์ผาสุดแผ่นดิน ใน อช. ป่าหินงาม อ. เทพสถิต ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง ที่ราบสูงอีสานกับที่ราบลุ่มภาคกลาง สามารถชมทิวทัศน์ผืนป่าอันกว้างใหญ่ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในอุทยานฯ ยังมีทุ่งดอกกระเจียวที่งดงามอีกด้วย ชัยภูมิยังมีจุดชมทิวทัศน์ อีกหลายแห่งที่น่าสนใจ อาทิ ทุ่งกระมังในเขตฯ ภูเขียว ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างขวาง เนื้อที่หลายร้อยไร่ โอบล้อมด้วยขุนเขา มีจุดชมพระอาทิตย์ตกดินท่ามกลางทิวเขา และผืนน้ำอันกว้างใหญ่ในเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นต้น

“รวยป่าใหญ่”
Slogan20300004_thumbSlogan20300005_thumb
ชัยภูมิได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดหนึ่งใน ภาคอีสาน ที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ป่าคิดเป็นร้อยละ 50.47 ของพื้นที่จังหวัด แวดล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติสำคัญ เช่น อช. ไทรทอง อช. ตาดโตน อช. ภูแลนคา อช. ป่าหินงาม อช. น้ำพอง ซึ่งมีพื้นที่ป่ารวมทั้งหมดกว่า 1.4 ล้านไร่ ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ชัยภูมิยังเป็นที่ตั้ง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ เขตฯ ภูเขียว เขตฯ ตะเบาะ-ห้วยใหญ่ เขตฯ ผาผึ้ง ทั้งยังมีป่าสงวนแห่งชาติอีก 11 แห่ง ผืนป่าแต่ละแห่งล้วนมีความหลากหลาย ทางชีวภาพทั้งพืช และสัตว์ รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำ สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำชี ลำน้ำสนธิ ลุ่มน้ำชีลอง ลุ่มน้ำห้วยลั่ว

“มีช้างหลาย”
อาจกล่าวได้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว จ. ชัยภูมิ เป็นแหล่งอาศัยหากินที่สำคัญ ของช้างป่าแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ด้วยพื้นที่ทั้งทางทิศตะวันตก และทิศเหนือเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ. ชัยภูมิ อช. น้ำหนาว และ อช. ตาดหมอก จ. เพชรบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นแหล่งอาหาร และที่อาศัยของช้างป่า ที่มีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนักในปัจจุบัน

“ดอกไม้งาม”
Slogan20300007_thumbSlogan20300008_thumbSlogan20300010_thumb
อุทยานแห่งชาติหลายแห่งของชัยภูมิ เช่น อช. ตาดโตน อช. ภูแลนคา อช. ป่าหินงาม อช. น้ำพอง ขึ้นชื่อเรื่องความงามของดอกไม้ป่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนกับฤดูหนาว ดอกไม้ป่าในเขตอุทยานฯ เหล่านี้จะพากันผลิบานแต่งแต้มสีสันให้แก่ผืนป่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมเยือน
และหนึ่งในดอกไม้ป่าที่รู้จักกันดี ในหมู่นักท่องเที่ยวก็คือ ดอกกระเจียว ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าที่มีสีสันสวยงาม และจะผลิดอกให้ชมราวต้นฤดูฝน (ประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค.) เพียงช่วงเวลาเดียวเท่านั้นในรอบปี ทั้งนี้ทุ่งดอกกระเจียว ที่ขึ้นชื่อว่างามที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขต อช. ป่าหินงาม และ อช. ไทรทอง จ. ชัยภูมิ

“ลือนามวีรบุรุษ”
Slogan20300011_thumbSlogan20300012_thumb
พระยาภักดีชุมพล เป็นบุคคลที่ชาวชัยภูมิเคารพนับถือ และยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ ตามตำนานกล่าวว่า ราวปี พ.ศ 2360 ท้าวแล ชาวเวียงจันทน์ ได้อพยพไพร่พลจำนวนหนึ่ง มาลงหลักปักฐานสร้างชุมชน บนแผ่นดินไทย ที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) ทว่ายังส่งส่วยบรรณาการ ต่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ มิได้ขาดจนได้รับบำเหน็จ ความชอบเป็นขุนภักดีชุมพล และพระยาภักดีชุมพลตามลำดับ กระทั่งเมื่อชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงหันมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ ผ่านทางเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพลจึงหันมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ แต่บัดนั้น
ถึงปี พ.ศ. 2369 เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพลก็ได้ยกไพร่พล ไปช่วยคุณหญิงโม ตีทัพเจ้าอนุวงศ์แตกถอยไป จากนั้นเจ้าอนุวงศ์ได้ส่งคนมาเกลี้ยกล่อม พระยาภักดีชุมพลให้ร่วมทัพด้วย แต่ท่านไม่ยอม จึงถูกจับประหารชีวิตที่บริเวณหนองปลาเฒ่า (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ. เมืองชัยภูมิ)
ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อบ้านเมืองของพระยาภักดีชุมพล ชาวชัยภูมิจึงได้สร้างศาลขึ้น ณ บริเวณที่ประหาร และตั้งชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อพระยาแล รวมทั้งสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้กลางสี่แยก ถ. หฤทัย กับ ถ. บรรณาการ ในตัวเมืองชัยภูมิด้วย

“สุดยอดผ้าไหม”
ผ้าไหมบ้านเขว้า หนึ่งในสุดยอดผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของชัยภูมิ มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่บ้านเขว้า อ. บ้านเขว้า มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ เนื้อผ้าแน่น เนียน มันวาว เมื่อนำมาซักเนื้อผ้าไม่ยุบ
ผ้าไหมบ้านเขว้าเป็นงานหัตถกรรมในครัว เรือน ที่สืบทอดกันมาหลายรุ่น มีเทคนิคและลวดลายเฉพาะถิ่น มีความละเอียดประณีตในการทอ ไม่ว่าจะเป็นไหมพื้น ไหมลายมัดหมี่ ลายขอ ที่สำคัญ ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทำเส้นใยสำหรับทอเอง จึงรับประกันได้ว่าผ้าไหมบ้านเขว้ามีคุณภาพดี ปัจจุบันบ้านเขว้ามีการจัดระบบการผลิต การตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนที่นี่กลายเป็นศูนย์กลาง การจำหน่ายผ้าไหมของจังหวัด และผ้าไหมบ้านเขว้า ก็นับเป็นของฝาก ที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งด้วย

“พระใหญ่ทวารวดี”
พระใหญ่ทวารวดี หรือ หลวงพ่อใหญ่ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองชัยภูมิ ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนสวรรค์ อ. คอนสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดี สร้างขึ้นจากศิลาแลงทั้งองค์ ตามตำนานเล่าว่าเดิมประดิษฐาน อยู่บนเนินดินในหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า “เนินหลวงพ่อใหญ่” ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 ขุนบัญชาคดี นายอำเภอคอนสวรรค์ขณะนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญ หลวงพ่อใหญ่ไปประดิษฐาน ไว้ที่วัดคอนสวรรค์จวบจนปัจจุบัน


ประวัติจังหวัดชัยภูมิ


สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพ
ออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์
ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนอง น้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร
นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล"
ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ
มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง
ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ
ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล)
เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ
ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369
ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งต่อมา เมื่อความแตก
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา
เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา
ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม
ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไป
ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้
และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล)
เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความแค้น
จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า
ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน
จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)"
มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด
ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร

ตราประจำจังหวัด

เป็นรูปธงสามชาย ซึ่งเป็นธงนำกระบวนทัพในสมัยโบราณ
หมายถึง ธงแห่งชัยชนะสงคราม เดิมผู้ครองนคร ได้เลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งเป็นเมือง
พบว่าตรงจังหวัดนี้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทำเลเหมาะแก่การสู้รบป้องกันตัว
จึงตั้งเมืองขึ้นและให้สัญญลักษณ์เป็นรูปธงชัย 3 แฉก


ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกระเจียว

ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นขี้เหล็ก







สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด ชัยภูมิ









สินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง



                                                   หม่ำ OTOP ของดีเมืองชัยภูมิ


หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรัก”แห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว –ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย  พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน "หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ , อ.ภูขียว , ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ


                                                    ผ้าไหมบ้านเขว้า



ผ้าไหมบ้านเขว้า โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ  มีความสวยงาม และคุณภาพ OTOP ระดับ 5 ดาว ราคาถูก คุณภาพเยี่ยม ส่งออกทั่วโลก มีทั้งเสื้อ กางเกง กระโปง กระเป๋า และอื่นๆ มากมาย

สินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง


ระวัติความเป็นมา ผ้า ไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ ควบคู่กับชุมชนชาวอำเภอบ้านเขว้ามาตั้งแต่อดีตกาลซึ่งเริ่มจากการทอผ้าใช้ใน ชีวิตประจำวันจากพ่อแม่สู่ลูก จากลูกสู่หลาน เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เน้นความปราณีต ละเอียดอ่อน ลวดลายบนผืนผ้าได้แนวคิดจากวิถีในการดดำรงชีวิต ที่อาศัยธรรมชาติที่อยู่รอบข้างมาเป็นแบบในการคิดลวดลาย เช่น สายน้ำไหล ต้นไม้ ซึ่งผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่มีคุณค่า ในอดีตกาลนิยมใส่ไปในงานพิธีที่เป็นศิริมงคล ผ้าไหมจึงเป็นศิริมงคลแก่ผู้สวมใส่
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1.             นำเส้นไหมมาฟอก
2. มัดลวดลายตามแบบ
3. นำเส้นไหมที่มัดลวดลายมาย้อมสีและโอบสี
4. นำไปทอด้วยฟืม (ทอมือ)
2.             จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ลวดลายประยุกต์ มีความปราณีตทันสมัย สีสดใสสวยงาม
3.             ปริมาณการผลิต 120 เมตรต่อเดือน
4.             ราคา เมตรละ 1,200 บาท
5.             สถานที่จำหน่าย
- 456 หมู่ที่ ต.บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ 0-4483-9560, 0-1306-6217
- 456 หมู่ที่ ต.บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ 0-4483-9560,0-1306-6217
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านเขว้า โทร 0-4489-1106  
ประวัติความเป็นมา บ้าน โนนม่วง เป็นหมู่บ้านที่มีมะม่วงแก้ว มากเหมือนชื่อหมู่บ้าน บรรพบุรุษในสมัยก่อนจึงทำมะม่วงแช่อิ่มเพื่อเก็บไว้รับประทานในฤดูขาดแคลน จึงเป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากสมัยบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน กระบวนการขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการดองมะม่วง
1) นำมะม่วงแก้วที่แก่จัดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปดองในถัง
2) ผสมน้ำเกลือกับน้ำหมักลงในถังให้ท่วมมะม่วง ใช้ไม้ขัดแตะ คลุมด้วยพลาสติกและปิดฝาให้แน่น และหมักมะม่วงดองไว้ ประมาณ 1 เดือน
    ขั้นตอนการแช่อิ่ม
1) นำมะม่วงที่ดองแล้วมาปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชั้น ๆ
2) นำน้ำตาลกับน้ำเปล่าและเกลือป่น ต้มให้ละลาย ทั้งไว้ให้เย็น
3) นำมะม่วงดองที่หั่นเป็นชิ้น ๆ นำไปแช่ไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วนำเข้าตู้เย็นจะทำให้รดชาดอร่อย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ หวาน กรอบ รดชาดอร่อย ไม่มีสารพิษเจือปน ปริมาณการผลิต 500 ถุงต่อเดือน ราคา ถุงละ 20บาท กิโลกรัมละ 50 บาท สถานที่จำหน่าย
- 229/2 หมู่ที่ บ้านโนนม่วง ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 0-4482-3086, 0-6250-041
  สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชัยภูมิ โทรศัพท์ 0-4481-2915  



วัฒนธรรม ประเพณี ตามวิถีชาวชัยภูมิ


งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล


       ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ช่วงเดือนมกราคมของทุกปี มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ มีการประกวดผลิตผลทางการเกษตร
งานแห่เทียนเข้าพรรษา




       เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม มีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี



งานบุญบั้งไฟ






 บุญเดือนหก จัดประมาณเดือนพฤษภาคม

งานบุญข้าวจี่
เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา จัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์



งานบุญพระเวส


งานบุญเดือนสี่ จัดประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ



งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล



        จัดที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า ระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่า

ประเพณีรำผีฟ้า


     


        เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา




งานบุญเดือนสี่
     


       เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน ราวกลางเดือนมีนาคม ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้า แข่งขันกันเพื่อชิงรางวัล และความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร


      
ประเพณีแห่กระธูป


งานโฮมบุญแห่กระธูปเทศกาลออกพรรษา  วันออกพรรษา ของทุกปี ณ ทุ่งหลวงศิริ   อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
ประเพณีแห่นาคโหด แห่งเดียวในโลก
       ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลายชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปี
       เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจของผู้ประสงค์จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก

       ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีร่วมรวมแห่นาคเข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณีแห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุด ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านที่มีรุ่นพี่บวช มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา หรือไม่ ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ในตลอดระยะเส้นทางแห่รอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัดทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรให้ได้


       ซึ่งตั้งแต่ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี 2514 มาจนวันนี้ ถือว่ายังไม่มีผู้ใดที่ตกลงมาถูกดินและสามารถเข้าพิธีบวชได้ทุกราย ถึงแม้จะมีการได้รับบาดเจ็บถึงขั้นศรีษะแตกและแขนหลุดบ้างก็มีหลวงพ่อจำปี สุจินโน เจ้าอาวาสวัดตาแขก กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด ชาวบ้านโนนเสลาถือเป็นงานประจำปีปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งผู้บวชเองที่เข้าร่วมพิธีเอง ถือว่าถ้าไม่โหดก็ไม่บวช และทาง อบต.หนองตูม เองก็เข้ามาช่วยส่งเสริมก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านเห็นร่วมกัน
       ด้านนางกองเวิน เข็มภูเขียว วัย 63 ปี ราษฎรอาวุโสที่ชาวบ้านโนนเสลา ให้ความเคารพจำนวนมาก กล่าวว่า การแห่นาคโหด ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นประเพณีนี้แล้ว ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถือกันว่าถ้าแห่นาคไม่โหดก็จะไม่บวชกัน เป็นอย่างนี้มาตลอดทุกปีช่วงเทศกาลอุปสมบทหมู่ประจำหมู่บ้านในเดือนหก ของทุกปี
       ซึ่งถือว่าคนรุ่นหนุ่มสมัยอดีต จะเป็นการปฏิบัติต่อกันรุ่นต่อรุ่นนั้นรุ่นนี้แห่กัน คนหามโหด เมื่อมาเจอคิวบวชของตนเองรุ่นน้องก็โหดต่อกันมาเรื่อยๆเป็นรุ่นๆกันไป ตามประสาคนหนุ่มในหมู่บ้านขณะที่นายสนิท ศรีบุดดา ไวยาวัจกรวัดตาแขก กล่าวว่า การจัดอุปสมบทหมู่ของหมู่บ้านจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือแห่นาคโหด ถือว่าเป็นการสะท้อนถึงความอดทน กลั้นของผู้ที่จะเข้าบวชแทนคุณบิดามารดาที่ให้กำเนิดมา และชาวบ้านที่นี่อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป เป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจจะมีการมองว่ามีความรุนแรง แต่ชาวบ้านคนหนุ่มที่นี่ กลับมองว่าเพื่อการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา การได้รู้จักการอดกลั้นความตั้งใจของผู้บวชเองมากกว่า
       ด้านนายธาดา รัตนาธิวัฒน์ นายก อบต.หนองตูม เปิดเผยว่า การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแห่นาคโหด อบต.ตั้งบประมาณไว้ส่งเสริมิย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่ทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณของคนที่นี่ และถือว่าจะเป็นจุดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้
       ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง และจะสามารถบวชสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยผ่านอุปศักดิ์ไปด้วยดีได้
ลักษณะทางเศรษฐกิจ   

           อาชีพและรายได้
                    ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่การทำนา  ทำไร่  อาชีพรับจ้าง  และค้าขายตามลำดับ  โดยในปี 2555  ประชากรร้อยละ  98.5  มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 46,922  บาท/คน/ปี
         พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ  คือข้าวนาปี  อ้อยโรงงาน  และมันสำปะหลัง   โดยอ้อยโรงงาน  และมันสำปะหลัง  มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น  483,886  ไร่   และ  447,033  ไร่ 
            การจ้างงานและการว่างงาน  
จังหวัดชัยภูมิมีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน   จำนวน 702,712 คน  คิดเป็นร้อยละ 57.50 ของประชากรรวม มีงานทำ 701,032 คน คิดเป็นร้อยละ 98.78 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีกำลังแรงงานที่ว่างงาน 815 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40  แรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก  ประมาณร้อยละ  63.4  และประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ  36.6   สถานประกอบการในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กและมีลักษณะเป็นระบบครอบครัวมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีการจ้างงานอย่างอื่นเช่น  ผู้ไปทำงานต่างประเทศ  เป็นต้น
               การอุตสาหกรรม
                จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 653  โรง มีเงินลงทุนรวม 19,281,791,896 บาท  จำนวนคนงาน  22,660  คน  สำหรับการส่งเสริมการลงทุนจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมจะต้องใช้เงินลงทุนสูงและจะต้องมีประสบการณ์ในการประกอบอุตสาหกรรม การขาดแคลนวัตถุดิบและช่างฝีมือแรงงานเฉพาะด้านเช่นด้านสิ่งทอและด้านการออกแบบ เป็นต้น
             




ประวัติผู้จัดทำ
นางสาว ชไมพร   งามตรง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 1
โรงเรียนโนนกอกวิทยา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น